ความต้องการเก็งกำไรในทองคำมีจำนวนมากเกินไป

ความต้องการเก็งกำไรในทองคำมีจำนวนมากเกินไป แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ผลักดันราคาทองคำในขณะนี้
22-7-2025
แม้ว่าการเก็งกำไรในฝั่งขาขึ้นของทองคำจะหนาแน่นอยู่ในขณะนี้ แต่ นักกลยุทธ์ตลาดรายหนึ่งมองว่า ปัจจัยนี้ไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของราคาเมื่อเร็ว ๆ นี้
ข้อมูลการซื้อขายล่าสุดจาก คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าแห่งสหรัฐฯ (CFTC)
ระบุว่า ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 กรกฎาคม ผู้จัดการกองทุนได้ เพิ่มสถานะซื้อสุทธิ (Long Positions) ขึ้น 7,972 สัญญา รวมเป็น 172,657 สัญญา
ในขณะเดียวกัน ได้ ลดสถานะขาย (Short Positions) ลง 13,763 สัญญา เหลือ 22,625 สัญญา สถานะสุทธิของทองคำ (Net Length) ขณะนี้อยู่ที่ 136,726 สัญญา ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้ม ทรงตัว ที่สังเกตได้ตลอดเดือนที่ผ่านมา
ในบันทึกล่าสุดของเธอเกี่ยวกับตลาดทองคำ
ซูกิ คูเปอร์ (Suki Cooper) นักวิเคราะห์โลหะมีค่าจาก ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้ว่า สถานะสุทธิเมื่อเทียบกับปริมาณสัญญาเปิด (open interest) ยังคงทรงตัวที่ประมาณ 31% ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 เธอกล่าวว่า ปริมาณสัญญาเปิด (open interest) ยังคง เสถียรตลอดช่วงต้นเดือนกรกฎาคม แม้ว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะประกาศขู่ใช้มาตรการภาษีนำเข้าเพิ่มเติมท่ามกลางสงครามการค้าที่ยังดำเนินอยู่
แม้จะยอมรับว่า การวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ (tactical positioning) ยังคงแข็งแกร่งและมีผู้เล่นหนาแน่นในตลาด แต่คูเปอร์ก็ระบุว่า สิ่งที่เธอให้ความสำคัญมากกว่าก็คือ อุปสงค์การลงทุนในกองทุนทองคำ ETP (Exchange-Traded Products) ที่มีทองคำหนุนหลังทั่วโลก
โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 เงินไหลเข้าสู่กองทุน ETP ดังกล่าวอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี เธอยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ปริมาณทองคำที่ถืออยู่ในกองทุน ETP ยังคงต่ำกว่าระดับสูงสุดที่เคยทำไว้ในปี 2020
“แม้ว่าในเดือนกรกฎาคมนี้ กระแสเงินไหลเข้าสู่กองทุน ETP ทองคำจะชะลอลง แต่ยังคงอยู่ในแดนบวกโดยรวม และปริมาณทองคำสะสมในกองทุนทั้งหมด ยังน้อยกว่าจุดสูงสุดในเดือนตุลาคม 2020 อยู่ประมาณ 300 ตัน” เธอกล่าว
“นอกจากนี้ ในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน สถานะขาย (short interest) ในกองทุนทองคำ ETP ที่ใหญ่ที่สุดได้ลดลง สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นว่า ราคาทองคำอาจมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อได้
ในช่วงที่การบริโภคทองคำชะลอตัวตามฤดูกาล กองทุน ETP จะยังคงเป็น ปัจจัยสำคัญในการกำหนดกรอบราคาทองคำ”
นอกเหนือจากการติดตามอุปสงค์การลงทุนในกองทุนทองคำ ETP แล้ว คูเปอร์ยังจับตาความเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด
โดยอธิบายว่า หากดอลลาร์อ่อนค่าลงเพิ่มเติม ก็จะช่วยหนุนราคาทองคำได้
“ราคาทองคำอาจไม่ได้ตอบสนองต่อข่าวภาษีนำเข้าอย่างรุนแรงเหมือนเมื่อต้นปี แต่ยังคงแสดงความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับค่าเงินดอลลาร์ โดยมี ค่า ‘rolling correlation’ ระยะ 3 เดือนที่ -70%
ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์กับ อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (real yields) ก็เริ่มกลับมาสู่แดนลบที่ระดับ -17%”
“แม้ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ทองคำจะดึงดูดความต้องการในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยได้น้อยลง
แต่ก็ยัง เคลื่อนไหวตามทิศทางของดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด ความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ยังคงหนุนความสนใจในทองคำ และการเติบโตของหนี้สหรัฐฯ รวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายภาษี มีแนวโน้มจะทำให้ทองคำยังคงอยู่ในความสนใจของนักลงทุน สำหรับตอนนี้ แนวรับของราคาทองคำยังคงแข็งแกร่ง”
ราคาทองคำเริ่มต้นสัปดาห์การซื้อขายใหม่ได้อย่างแข็งแกร่ง โดยราคากำลัง ทดสอบแนวต้านที่ระดับ 3,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองคำสปอตล่าสุดอยู่ที่ 3,399.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.47% ในวันเดียว
แรงส่งรอบใหม่นี้สอดคล้องกับการอ่อนค่าของดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ลดลงมาต่ำกว่า 98 จุด
ในด้านมุมมองระยะกลาง
ซูกิ คูเปอร์ (Suki Cooper) ยังคงมองบวกต่อทองคำ โดยให้เหตุผลว่า ธนาคารกลางยังคงซื้อทองคำเพื่อเสริมทุนสำรองระหว่างประเทศ แม้ว่าอัตราการซื้อจะชะลอลงบ้างในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
“แม้การซื้อทองคำโดยภาครัฐ (official sector) จะเริ่มแสดงสัญญาณชะลอตัว
แต่ การซื้อจากธนาคารกลางยังคงดำเนินต่อไป แม้ราคาทองจะอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การขายสุทธิ”
— ซูกิ คูเปอร์ กล่าว
ที่มา Kitco News