ขอบคุณภาพจาก Sputnik
11.10.2024
อดีตนายกรัฐมนตรีฟูอัด ซินิออรา ของเลบานอน ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งนี้ในช่วงที่เลบานอนทำสงครามครั้งหลังสุดกับอิสราเอลเมื่อปี 2006 บอกกับบีบีซีว่า เลบานอนถูกประชาคมโลกทอดทิ้ง การปล่อยให้เลบานอนล่มสลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และตอนนี้ ก็ยังไม่มีแนวคิดที่จะพยายามฟื้นฟูสันติภาพขึ้นมาเลย
ขณะนี้เลบานอนอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากมาก ต้องร้องขอความพยายามจากทั้งเลบานอนเองรวมถึงฝั่งอาหรับ และนานาประเทศ ตอนนี้ สถานการณ์ในเลบานอนจวนเจียนจะล้มแล้ว เป็นหายนะครั้งใหญ่โดยที่ไม่มีใครรู้จริงๆ ว่า จะเกิดอะไรตามมา “มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลสหรัฐกำลังยุ่งอยู่กับการเลือกตั้ง ส่วนเลบานอนเองก็ไม่สามารถเลือกประธานาธิบดีได้ เพราะบางกลุ่มในประเทศ โดยเฉพาะฮิซบอลเลาะห์ ได้ยืนกรานว่าพวกเขาต้องการประธานาธิบดีที่ไม่หักหลังพวกเขา
สงครามครั้งหลังสุดระหว่างเลบานอนกับอิสราเอลเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน เริ่มต้นเมื่อนักรบฮิซบอลเลาะห์ข้ามพรมแดนและโจมตีทหารอิสราเอล มีสองคนถูกลักพาตัวและสามคนถูกสังหาร ทำให้เกิดความขัดแย้งยาวนานหนึ่งเดือน
ในอีกไม่กี่วันต่อมา อดีตนายกฯ เลบานอนรายนี้ ก็ได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณะเพื่อกันรัฐบาลเลบานอนจากสิ่งที่เกิดขึ้น เขาคิดว่า ผู้นำเลบานอนในยุคปัจจุบัน สร้างความล้มเหลวให้ประชาชน ด้วยการไม่ได้ทำในแบบเดียวกันนี้ “รัฐบาลเลบานอนชุดนี้ไม่ได้ทำอย่างที่รัฐบาลของเขาทำในวันนั้น ซึ่งมีความชัดเจนและแน่วแน่มากในการระบุว่า ทางรัฐบาลไม่รู้และไม่ได้รับแจ้งเกี่ยวกับแผนการของฮิซบอลเลาะห์ที่จะข้ามเส้นสีน้ำเงินที่ชายแดนและลักพาตัวบวกกับสังหารทหารอิสราเอล
อดีตนายกฯ เลบานอนรายนี้ อธิบายว่า “รัฐบาลเลบานอนชุดนี้ ไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรในครั้งนี้ ส่วนการตัดสินใจของรัฐบาลสมัยที่เขาเป็นนายกฯ มีข้อดีตรงที่ เป็นการแยกขาดจากกันไปเลยระหว่างรัฐบาลเลบานอน กับกลุ่มฮิซบุลเลาะห์
อดีตนายกฯ เลบานอนผู้นี้ ไม่หวั่นไหว ที่จะประเมินว่า อำนาจอธิปไตยของเลบานอนในเวลานี้ สูญเสียไปแล้ว เลบานอนเหมือนรัฐที่ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ และเบื้องหลังกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก็คืออิหร่าน พร้อมเสริมว่า “ปืนที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ถืออยู่แทนที่จะจ่อไปทางอิสราเอล กลับเล็งมาที่ประเทศเลบานอน และเริ่มใช้เป็นช่องทางให้อิหร่านทำในแบบเดียวกับที่เข้ามาแทรกแซงในซีเรีย อิรัก และเยเมน จริงๆ แล้ว เลบานอนไม่ควรถูกดึงเข้าไปพัวพันกับสงครามแบบนี้
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่างมติสหประชาชาติ 1701 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ยุติสงครามในปี 2006 โดยเงื่อนไขประการหนึ่งคือ พื้นที่ทางตอนใต้ของเลบานอน ซึ่งเป็นพื้นที่ทางใต้ของแม่น้ำลิตานี จุดหมายตาแห่งสำคัญ จะต้องคงไว้เป็นเขตกันชนระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยต้องปราศจากอาวุธหรือนักรบของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์
แม้จะมีการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติคือ ยูนิฟิล และกองทัพเลบานอนเข้ามาประจำการ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลอะไร ประชาชนของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์และโครงสร้างพื้นฐานทางการทหารของพวกเขายังคงฝังอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ภาวะสุญญากาศทางการเมืองของเลบานอนทำให้อิทธิพลของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่มีต่อประเทศนี้ควบคุมได้ยากเป็นพิเศษ
เลบานอนไม่มีรัฐบาลที่ทำหน้าที่อย่างเหมาะสมมาตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2022 ซึ่งให้รัฐบาลรักษาการเข้ามาบริหารแทน เมื่อประธานาธิบดีมิเชล อูน หมดวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อเกือบสองปีก่อน สมาชิกรัฐสภา ไม่สามารถตกลงกันเรื่องจะหาใครมาแทน ดังนั้นตำแหน่งดังกล่าวจึงยังคงว่างอยู่ ชาวเลบานอนหลายคนจึงเชื่อว่าผู้นำมีไม่เพียงพอ
อดีตนายกฯเลบานอน ผู้นี้ กล่าวชัดเจนว่า ความขัดแย้งในเลบานอนไม่ควรนำไปเชื่อมโยงกับสงครามในฉนวนกาซาที่ดำเนินมาเป็นเวลาหนึ่งปีแล้ว ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านก็เรียกร้องให้หยุดยิงพร้อมกันทั้งในเลบานอนและฉนวนกาซาด้วย
อดีตนายกฯ เลบานอน กล่าวว่า “ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 เป็นต้นมา สถานการณ์ถูกลากให้ยืดเยื้อ และเลวร้ายลงเรื่อยๆ มีโอกาสมากมายที่จะแยกสถานการณ์ในเลบานอนออกจากฉนวนกาซา เลบานอนไม่ควรถูกดึงให้ไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในกาซ่า ที่ชาวปาเลสไตน์ถึง 2.2 ล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัยและฉนวนกาซาถูกทำลายทั้งหมด การเชื่อมโยงสถานการณ์ของเลบานอนกับฉนวนกาซาต่อไปจึงไม่ใช่เรื่องฉลาดนัก”
By IMCT NEWS
อ้างอิงจาก: https://bbc.com/news/articles/c70zke9lqjro